ข้ามไปเนื้อหา

สงคราม กิจเลิศไพโรจน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงคราม กิจเลิศไพโรจน์
สงคราม ใน พ.ศ. 2562
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน – 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 87 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าวิรุฬ เตชะไพบูลย์
บรรยิน ตั้งภากรณ์
พิเชษฐ์ ตันเจริญ
ถัดไปอลงกรณ์ พลบุตร
หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2564
(2 ปี 116 วัน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 9 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(4 ปี 199 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 มีนาคม พ.ศ. 2487 (80 ปี)
อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองความหวังใหม่ (2534–2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อชาติ (2561–2566)
เพื่อไทย (2556–2561, 2566–ปัจจุบัน)
คู่สมรสอรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์
บุตรภิญโญ กิจเลิศไพโรจน์

สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ (เกิด 15 มีนาคม พ.ศ. 2487) เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (แพทองธาร ชินวัตร) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และอดีตเหรัญญิกพรรคพลังประชาชน

ประวัติ

[แก้]

นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน เกิดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2487 ที่ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรคนที่ 4 ในบรรดาบุตร 5 คนของนายเล่งอี่ แซ่กิม กับ นางเซ้งฮวย แซ่ฉั่ว สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต จากสถาบันราชภัฏธนบุรี และนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ส่วนในระดับปริญญาโทอีก 2 ปริญญา ด้านบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทั่วไป จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย และรัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ส่วนบุตรชายนายภิญโญ เป็น นักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สภาผู้แทนราษฏร

การทำงาน

[แก้]

นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เป็นนักธุรกิจนำเข้าสินค้าของเด็กเล่นจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จนสามารถเปิดร้านผลิตของเล่นเป็นของตัวเองได้ที่ย่านสะพานควาย และได้ขยายกิจการเรื่อยมาจนได้ก่อตั้ง โรงงานมงกุฏทองผลิตภัณฑ์ เป็นที่มาของสินค้าที่มีเป็นที่รู้จักในชื่อ "ดรีมทอยส์" และ "ไทยทอยส์" และยังดำเนินธุรกิจห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล อีกด้วย

งานการเมือง

[แก้]

ด้านงานการเมือง เคยเป็นที่ปรึกษาประธานรัฐสภา (ดร.โภคิน พลกุล) และที่ปรึกษาให้กับ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[2] ต่อมาเขาได้รับตำแหน่งเหรัญญิกพรรคพลังประชาชน และรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[3] ในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[4]

เขาเคยเป็น 1 ใน 5 ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเชื่อมโยงกับการสนับสนุนเงินให้กับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.)[5]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 89[6] แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ต่อมาเขาจัดตั้งพรรคการเมืองและดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อชาติ

ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ เนื่องจากก่อนหน้านั้นเขาได้ลงมติงดออกเสียงในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2564 กรณีร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า จนทำให้สมาชิกพรรคบางส่วนตำหนิ[7] ในวันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566 นายสงครามได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพร้อมกับนางสาวปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช[8] ปัจจุบันนายสงครามได้ย้ายกลับมาสังกัดพรรคเพื่อไทย

ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[9] และต่อมาเมื่อเศรษฐาพ้นจากตำแหน่งในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ก็ได้แต่งตั้งให้เขาเป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เหมือนเดิม ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2567

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
  2. "นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-29. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
  4. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  5. "ส.-สงคราม" เสี่ยห้างดัง รวยเบาะๆ 200 ล้าน โยงรับเงิน"ทักษิณ"-ส่งท่อน้ำเลี้ยง "ม็อบแดง"?
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  7. 'สงคราม' ไขก๊อกพ้นหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ
  8. “ชวน” แจ้งสภา ส.ส.ลาออกอีก 5 -ให้ถอดแมสก์ประชุมได้
  9. มติครม. แต่งตั้งพรึบ ชัยเกษม-สงคราม ไขก๊อกส.ส. รับที่ปรึกษานายกฯ มีชื่อนิพัทธ์-พิชัย
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ถัดไป
เถลิงยศ บุตุคำ หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ
(23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2564)
บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์